เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

 

แนวคิดการออกแบบรูปแบบเพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนหนองโพธิ์พิทยาคม  มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในองค์การ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการ และคุณภาพการศึกษา โดยนำแนวคิดและเครื่องมือ “การบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกว่า PMQA  (Public Sector Management Quality Award)  และแนวคิดเครื่องมือ “KHONG NATEE Model” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มาประยุกต์เป็น N-P-K Model (Nongphopittayakom Model)  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยั่งยืน  เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้การดำเนินงานได้รับการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้า  โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา  ซึ่งจะทำให้เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ (Excellence)   และเพื่อสร้างคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดพัฒนาการขององค์การในระยะยาว  จึงได้ใช้หลักการของ Deming คือ วงจร P-D-C-A (Plan, Do, Check, Act)  เป็นแนวร่วมในการปรับปรุงคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์ของการกำหนดรูปแบบ “N-P-K  Model” 

  1. เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
  2. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารและจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา
  4. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีคุณภาพ

 

นิยามศัพท์และองค์ประกอบ “N-P-K Model” 

N-P-K (นพ.ค.)   หมายถึง อักษรย่อชื่อโรงเรียนหนองโพธิ์พิทยาคมที่เป็นภาษาอังกฤษ   แสดงถึงเอกลักษณ์แห่งความผูกพันธ์และเชื่อมโยงจิตใจ ประสานความเป็นหนึ่งเดียวของชาวตำบลหนองโพธิ์และชุมชนใกล้เคียง  จึงได้นำชื่อโรงเรียนหนองโพธิ์พิทยาคม มากำหนดเป็นชื่อรูปแบบ (Model)  ในชื่อว่า “N-P-K Model”  โดยประกอบด้วย

– อักษร จำนวน ๓ ตัวอักษร หมายถึง รูปแบบนี้กำหนดขึ้นโดยชื่อย่อของโรงเรียน

– สีเหลือง หมายถึง (1) สีประจำวันพระราชสมภพ รัชกาลที่ 9 และ 10

(2) สีของดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม (ดอกกรันเกรา) และจังหวัดมุกดาหาร (ดอกช้างน้าว)

– สีน้ำเงินล้อมรอบตัวอักษร K หมายถึง พระมหากษัตริย์

– สีชมพู หมายถึง ความสมดุล มีพลัง

 

[1]  N : ประกอบด้วย

Necessary factor   หมายถึง ปัจจัยจำเป็นด้านอื่น ๆ เช่น การกำหนด

ทิศทางขององค์กร (วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และจุดเน้น)  การจัดการระบบสารสนเทศ  การจัดการความรู้  การกำหนดโครงสร้าง  กระบวนการปฏิบัติงาน

Neo – Phenomenon หมายถึง Phenomenon Based Learning การจัด

ประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ประสบการณที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันเป็นฐาน ภายใต้แนวคิดการบูรณาการการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

Network  หมายถึง เครือข่ายองค์กร ชุมชน ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร  เช่น โรงเรียน สหวิทยาเขต เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น

 

[2]  P : Participations  หมายถึง การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย

-ร่วมคิด (Collaborate)

-ร่วมวางแผน (Plan)

-ร่วมปฏิบัติ (Do)

-ร่วมตรวจสอบ (Check)

-ร่วมปรับปรุงแก้ไข (Act)

-ร่วมใช้ประโยชน์ (Share)

การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือเครือข่าย เพราะมีผลในทาง

จิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ความคิดเห็นถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาเครือข่าย และที่สำคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่าย ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเครือข่ายที่ดีที่สุด

 

[3]  K : King’s Philosophy เป็นร่มใหญ่ของการดำเนินงานในทุกมุมมอง อันหมายถึง

 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9  อันเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่ได้พระราชทานผ่านวิธีการต่างๆ ด้วยความมุ่งหมายที่จะพัฒนา ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์แก่เหล่าพสกนิกรให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง สันติสุขและยั่งยืน  ประกอบด้วย 3 หลักการ 2 เงื่อนไข

(1) หลักความพอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน

(2) หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

(3) หลักภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

(4) เงื่อนไขความรู้ หมายถึง มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและขั้นตอนปฏิบัติ

(5) เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

หลักการทรงงาน 23 ข้อ ได้แก่  (1) ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ  (2) ระเบิดจากข้างใน (3) แก้ปัญหาที่จุดเล็ก (4) ทำตามลำดับขั้น (5) ภูมิสังคม (6) องค์รวม (7) ไม่ติดตำรา (8) ประหยัดเรียบง่าย ใช้ประโยชน์สูงสุด (9) ทำให้ง่าย (10) การมีส่วนร่วม (11) ประโยชน์ส่วนรวม (12) บริการรวมจุดเดียว (13) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ (14) ใช้อธรรมปราบอธรรม  ( 15) ปลูกป่าในใจคน (16) ขาดทุนคือกำไร (17) การพึ่งตนเอง (18 )พออยู่พอกิน (19) เศรษฐกิจพอเพียง ( 20) ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน (21) ทำงานอย่างมีความสุข (22) ความเพียร ( 23) รู้-รัก-สามัคคี

   พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์  รัชกาลที่ 10  ที่ให้มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือ  (1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม  (3) มีงานทำ มีอาชีพ (4) เป็นพลเมืองที่ดี

วงจร PDCA หมายถึง วงจรบริหารงานคุณภาพ หรือ Deming Cycle เป็นเครื่องมือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 นำมาใช้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการทำงานขององค์การให้ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง จนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างยั่งยืน   วงจรดังกล่าวประกอบด้วย P (Plan) คือการวางแผน D (Do) คือการลงมือปฏิบัติ C (Check) คือการตรวจสอบ และ A (Action) คือดำเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา

 

About admin

Check Also

พันธกิจ/เป้าหมาย/กลยุทธ์

พันธกิจ/เป้าหมา …